วันที่ 27 เมษายน 2567 3:29 PM
bcclivingcareservice.com
วันที่ 27 เมษายน 2567 3:29 PM

รายละเอียดการตรวจ

อัพเดทเมื่อ 26 กุมภาพันธ์ 2021 เข้าดู ครั้ง

รายละเอียดการตรวจบ้านและตรวจคอนโด ก่อนโอนกรรมสิทธิ์

ตรวจบ้าน และ ตรวจคอนโดก่อนโอนกรรมสิทธิ์นั้นเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะทุกคนต้องการที่จะมีบ้านที่อยู่อาศัยปลอดภัย ปราศจากข้อบกพร่องต่างๆที่จะส่งผลให้อยู่บ้านแล้วเกิดอันตราย ดังนั้นก่อนที่เราจะเข้าอยู่อาศัย เราควรตรวจบ้าน และ ตรวจคอนโด ทั้งระบบงานโครงสร้าง ระบบไฟฟ้า ระบบสุขาภิบาล และงานสถาปัตย์ เพื่อที่จะตรวจสอบข้อบกพร่องที่อาจจะยังคงค้างอยู่หลังจากการก่อสร้างของโครงการ ซึ่งการตรวจสอบบางระบบ อาจจะต้องใช้ผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์ทางงานด้านก่อสร้าง เพื่อตรวจสอบได้ละเอียด และจะไม่ส่งผลกระทบหรือเกิดอันตรายต่อผู้อยู่อาศัยในภายหลัง ทั้งนี้ทางเราจะอธิบายรายละเอียดการตรวจในแต่ละงานระบบให้เข้าใจพอสังเขป ดังนี้

1. งานโครงสร้าง เป็นงานที่ต้องใส่ใจตั้งแต่เริ่มดำเนินการก่อสร้างโครงการ เพราะเป็นฐานรากรับน้ำหนักของงานระบบต่างๆทุกอย่าง งานโครงสร้างมีทั้งส่วนใต้ดินและบนดิน ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างตั้งแต่การลงเสาเข็ม ความลึกของเสาเข็ม ขึ้นอยู่ว่าพื้นที่นั้นๆเป็นดินชนิดไหน เพราะชั้นดินแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ต้องเจาะเสาเข็มด้วยความลึกที่ต่างกัน ต่อมาก็ผูกเหล็ก, เทคาน, คอดิน, เสาตอม่อ, คานแต่ละชั้น, พื้น, บันได และในบางโครงการก็ทำโครงสร้างสำเร็จมาวางเลย (ไม่ต้องเทปูน) ดังนั้นส่วนการตรวจสอบโครงสร้างบ้าน ให้สังเกตความผิดปกติของโครงสร้างประเภทรอยร้าวกลางเสาหรือคาน พื้นเป็นแอ่งกระทะหรือป่อง เสาโค้ง คานแอ่น ส่วนงานคอนโดตรวจสอบแนวเสาห้องไม่โค้ง ไม่เอียง ผนังไม่แตกร่อน ไม่มีรอยแตกร้าวแนวทะแยง แนวขนาน และ รอยแตกร้าวในแนวเสาโครงสร้างหลัก

2. งานภายนอก โดยตรวจเริ่มจากงานรั้วหน้าบ้าน แต่ละโครงการอาจจะใช้วัสดุไม่เหมือนกัน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้เป็นงานโครงเหล็ก สิ่งที่ต้องตรวจสอบ คือการยึด Plate เหล็กเข้ากับตัวเสารั้ว ว่าติดตั้งแน่นหรือไม่ และ มีการทาสีกันสนิม รวมถึงการเชื่อมต่อของโครงเหล็กของรั้ว ต้องเชื่อมให้เต็มรอบรอยต่อ และทาสีกันสนิมให้หมด ต่อมาเป็นงานประตูรั้วบาน ตรวจสอบล้อเลื่อน ระดับรางเลื่อน และยึดติดเหล็กเพลาให้ดี ส่วนใหญ่แล้วทางเข้าบ้านส่วนใหญ่จะเป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ตรวจสอบการแตกร่อน ไม่มีรอยร้าวแตกห่างเยอะ และ ดูระดับพื้นไม่ให้มีน้ำขัง หลังจากนั้นจะดูรอบบ้าน ระดับพื้นดินรอบบ้านต้องอยู่ต่ำกว่าคอบ่อพักประมาณ 1-2 ซม. และต้องถม บดอัดดินให้แน่นประมาณนึง และสุดท้ายจะดูระดับความชันของบ่อพักรอบบ้าน ว่าน้ำไหลออกจากจุดสูงสุด ไปยังต่ำสุดแล้วไหลออกจากตัวบ้านไปยังบ่อระบายน้ำของส่วนกลางเพื่อไม่ให้มีน้ำขังแล้วเกิดกลิ่นเหม็นได้

3. งานสถาปัตยกรรม เป็นสิ่งที่ทุกคนที่เข้ามาในบ้านหรือคอนโด จะเห็นเป็นสิ่งแรก เริ่มด้วยงานผนัง ตรวจสอบด้วยการเคาะผนัง ด้วยอุปกรณ์เคาะ ฟังเสียงผนัง มีการแตกร่อนไหม หลังจากนั้น ดูการจับเซี้ยมมุมผนังได้ฉากไหม ผนังได้ระนาบไหม มีรอยตกร้าวหนักไหม หรือแค่แตกร้าวลายงาก็จะไม่อันตราย และสุดท้ายดูรอยต่อผนังว่ามีการรั่วซึมหรือไม่ ต่อจากนั้นก็จะตรวจสอบ งานพื้นต่างๆ จะตรวจดูรอยต่อพื้น ระดับพื้นได้ระดับ ความลาดเอียงของพื้น ปูพื้นไม่ชิดผนัง การชำรุดเสียหายของผิววัสดุ ปูพื้นแน่นดีไหม ต่อมางานฝ้าเพดาน ตรวจสอบรอยต่อแผ่นฝ้า แผ่นฝ้าไม่แตกร้าว โครงฝ้าติดตั้งแน่นแข็งแรง ขัดทำสีให้เรียบร้อย ตรวจสอบประตู,หน้าต่าง สี,การรั่วซึม,การใช้งาน,การชำรุดเสียหายของวัสดุ ตรวจสอบงานบันได สี,ผิว,ความลาดชัน,ความสูงของลูกตั้ง,ความกว้างของลูกนอน,การชำรุดเสียหายของวัสดุ สุดท้าย ตรวจสอบการใช้งานและการชำรุดเสียหายของวัสดุ อุปกรณ์ต่างๆ

4. งานหลังคาและใต้หลังคา เป็นสิ่งที่ต้องระวังลำดับต้นๆของการตรวจบ้าน ตรวจสอบรอยต่อแผ่นหลังคาไม่แตกหัก ไม่ชำรุด รอยต่อไม่ห่าง ไม่มีแสงรอด ไม่มีรอยน้ำซึม ตรวจความแข็งแรงของโครงหลังคา ทาสีกันสนิมและตรวจสอบการเกร้าท์ปูนบริเวณหัวหลังคา ฉนวนกันความร้อนไม่ฉีกขาด ปูเต็มพื้นที่ สุดท้ายตรวจสอบ ระบบเดินท่อร้อยสายไฟ บล็อคไฟฟ้าปิดเรียบร้อย ไม่มีรูเปิด โดยทางเรามีการใช้โดรนบินตรวจ เพื่อให้เห็นภาพมูุมสูงของหลังคา และสามารถแก้ไขงานให้เรียบร้อยได้ในที่สุด

5. งานระบบไฟฟ้า เป็นอีกงานที่อันตรายต่อผู้อยู่อาศัย จึงต้องตรวจให้ได้มาตรฐาน ตรวจสอบการเข้าสายไฟ L(สายที่มีไฟ) N(สายเปล่าไม่มีไฟ) G(สายดิน) สีของสายไฟ ชนิดและขนาดสายไฟ ของอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกจุด สีสายไฟเป็นไปตาม มอก.11-2553 ตรวจสอบชนิดและการเดินสายไฟ ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า ของแต่ละอุปกรณ์ การเข้าสายไฟในตู้เมนต์เบรคเกอร์ การตรวจสอบสายดิน และ เข้าหัวสายเมนต์สายดิน ที่ แท่นหลักดิน ขนาดเบรคเกอร์ กับ สายไฟ สัมพันธ์กันตามมาตรฐาน สุดท้าย ตรวจสอบฟังก์ชันการใช้งานของทุกอุปกรณ์ไฟฟ้า

6. งานสุขาภิบาล และ บ่อบำบัด เป็นอีกงานที่ต้องตรวจสอบให้ได้มาตรฐาน ตรวจสอบชนิด และ ขนาดของท่อน้ำดี และ น้ำเสีย ตรวจสอบการเชื่อมต่อท่อน้ำทิ้ง ท่อน้ำเสีย และ การระบายน้ำ ตรวจสอบโดยการขังน้ำทุกพื้นที่ ที่มีท่อระบายน้ำ แล้วปล่อยน้ำทิ้ง เพื่อดูรอยรั้วซึม และ รอยต่อเชื่อมติดกันดีไหม ท่อน้ำทิ้ง และ ท่อโสโครก ห้ามเชื่อมต่อกัน เพราะ ท่อน้ำเสียจะมีกลิ่นเหม็น ท่ออากาศของท่อน้ำทิ้ง และ ท่อโสโครก ไม่ควรเชื่อมต่อกัน ชักโครกทุกจุด ต้องมีการต่อท่ออากาศ ตรวจสอบแรงดันท่อน้ำดี ตรวจสอบโดยการใช้ pressure Gauge วัดแรงดันน้ำในท่อ โดยการท่อที่ปลายของท่อน้ำดีทุกจุด ควรมีแรงดันในท่อน้ำดีอยู่ที่ 30-60 psi สุดท้าย ตรวจสอบการไล่ระดับท่อระบายน้ำเสีย และ ไล่ระดับพื้น ตรวจสอบระดับน้ำภายในบ่อบำบัด,บ่อดักไขมัน ท่อออกของบ่อ ระดับน้ำต้องอยู่ท้องท่อ ชานระเบียง ต้องไม่มีน้ำขัง ระดับพื้นห้องน้ำ ต้องไม่มีน้ำขัง

 

ตารางราคาตรวจบ้าน และ ตารางราคาตรวจคอนโด

ตารางราคาตรวจคอนโด

ตรวจรับคอนโด ราคา พิเศษ พร้อม checklist ตรวจรับคอนโด

หมายเหตุ : ไม่รวมค่ารถในการเดินทางไปต่างจังหวัด และในกรณีพื้นที่ใหญ่กว่าตารางนี้ จะคิดเป็นราคาเหมาพิเศษ

 

ตารางราคาตรวจบ้าน ทาวน์โฮม ทาวน์เฮาส์

ราคาตรวจบ้าน ตรวจ defect บ้าน รับตรวจบ้าน ราคาถูก

หมายเหตุ : ไม่รวมค่ารถในการเดินทางไปต่างจังหวัด และในกรณีพื้นที่ใหญ่กว่าตารางนี้ จะคิดเป็นราคาเหมาพิเศษ