วันที่ 5 ตุลาคม 2567 9:20 AM
bcclivingcareservice.com
วันที่ 5 ตุลาคม 2567 9:20 AM

ขั้นตอนและวิธีการตรวจบ้าน อย่างละเอียด พร้อมตัวอย่างจุดบกพร่อง สามารถดาวน์โหลด การตรวจรับบ้าน pdf ได้ที่บทความนี้

การตรวจรับบ้าน pdf พร้อมให้ดาวน์โหลด ด้านล่างสุดของบทความนี้ แต่อย่าเพิ่งเลื่อนไป เราอยากให้คุณได้อ่านถึงขั้นตอน และวิธีการตรวจ รวมถึงอุปกรณ์ที่ต้องใช้ และความอันตรายในการตรวจ ก่อนที่ท่านจะตัดสินใจที่จะตรวจบ้านด้วยตัวเอง

ก่อนอื่น ต้องเตรียมพร้อมอุปกรณ์ในการตรวจบ้านก่อน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือแบบฟอร์มตรวจบ้าน เพราะคุณจะต้องเตรียมไว้เป็น Checklist ในการตรวจแต่ละจุด เพื่อให้ไม่หลุดงาน โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากบทความก่อนๆ ในเว็บของเรา หรือคลิกที่นี่ -> แบบฟอร์มตรวจบ้าน pdf และที่เหลืออุปกรณ์ที่ต้องเตรียมคือ

  1. ตลับเมตร
  2. คีมหนีบ และ ไขควง
  3. ไฟฉาย
  4. บันไดสามขั้น (สำหรับห้องที่ฝ้าไม่สูง)
  5. ไม้สำหรับเคาะกระเบื้อง
  6. ไขควงหรือปากกาวัดไฟฟ้า
  7. ปลั๊กสำหรับตรวจสอบกันดูด
  8. แคลมมิเตอร์ (คลิปแอมป์)
  9. เทปพันสายไฟ
  10. เครื่องวัดอุณหภูมิ
  11. โพสท์อิท สำหรับติดจุด Defect และมาร์คเกอร์

หลังจากที่คุณเตรียมอุปกรณ์พร้อมแล้ว ก็ควรจะต้องทราบว่าขั้นตอนในการตรวจบ้านแต่ละขั้น เป็นอย่างไรบ้าง และต้องตรวจที่จุดไหนบ้าง บางจุดที่มีความอันตราย อย่างเช่น ระบบไฟฟ้า หรือการปีนขึ้นที่สูง ก็ขอให้ผู้อ่านระมัดระวัง และเตรียมการให้พร้อมก่อนที่จะเข้าตรวจนะครับ โดยการตรวจจะเป็นดังนี้

– เริ่มจากการตรวจผนังบ้าน ดูงานปูน และการแตกร่อนภายในผนัง ระนาบของผนัง รอยแตกร้าว การเก็บสีผนัง และการรั่วซึมของน้ำที่รอยต่อผนัง

– ต่อมาให้ตรวจที่ประตูและหน้าต่าง ดูความสนิทในการเปิด-ปิด การติดตั้งขอบยาง และการรั่วซึมของบานหน้าต่างและประตู โดยการฉีดน้ำใส่

– ในส่วนของงานในห้องครัว นอกจากตรวจสอบความเรียบร้อยของการติดตั้งในภาพรวมแล้ว ให้ดูงานระบบสุขาภิบาล น้ำดี น้ำทิ้ง ให้เรียบร้อย

– งานส่วนรอบบ้าน พวกงานสวน การปลูกต้องไม้ การบดอัดหน้าดินให้แน่น ระดับให้ได้ รวมถึงการระบายน้ำรอบตัวบ้าน

– ที่จอดรถให้ตรวจสอบพื้นผิว ไม่แตก และความลาดชัน เพื่อการระบายน้ำที่ดี

– รั้วรอบบ้าน ดูความแข็งแรงของงานโครงสร้าง การทาสีกันสนิม งานเชื่อม รวมถึงระดับรางเลื่อนที่ได้ระดับ และความลาดชันในทางเข้าบ้าน เพื่อการระบายน้ำ

– หลังคาให้ตรวจสอบใต้หลังคา ดูความแข็งแรงของโครงหลังคา ฉนวนกันความร้อน และรอยต่อของแผ่นหลังคา ไม่ให้มีช่องว่าง รวมถึงฝ้า และท่อร้อยสายไฟบนฝ้า

– งานส่วนฝ้าเพดาน ตรวจสอบการติดตั้งโครงฝ้า รอยต่อแผ่นฝ้า สภาพแผ่นฝ้าไม่แตกร้าว การทาสีและขัดฝ้า

– พื้นในตัวบ้าน เป็นจุดที่มีปัญหาบ่อยๆ ต้องตรวจให้ละเอียด ดูรอยต่อ ดูระดับพื้น รวมถึงการติดตั้งพื้นให้แน่น ไปจนถึงจุดต่อระหว่างพื้นกับผนัง จุดนี้มักจะตรวจเจอได้ว่าติดตั้งไม่แน่น และสุดท้ายเป็นเรื่องรอยขีดข่วนที่ผิวหน้า ความเรียบร้อยของยาแนวต่างๆ

– ภายในห้องน้ำ ต้องทดสอบขังน้ำ ดูการรั่วซึม ดูความลาดเอียงให้ระบายน้ำได้ และความเรียบร้อยของการติดตั้งสุขภัณฑ์ต่างๆ

– ระเบียงและชานพัก ให้ขังน้ำ ดูการรั่วซึม แล้วจากนั้นให้ดูการระบายน้ำ ต้องลาดชันอย่างเหมาะสม ที่เหลือดูความเรียบร้อยงานสี วัสดุปิดผัวต่างๆ ให้ได้ตามสเปค

– บันไดในบ้าน ต้องตรวจสอบ ลูกตั้ง ลูกนอน ระยะชานพัก ให้ได้ตามมาตรฐาน ดูรอยต่อ ความหนาแน่นของการติดตั้ง และความเรียบร้อยงานปิดผิว งานสี และราวกันตก

– เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ตรวจสอบการติดตั้งให้ครบถ้วน แข็งแรง และถ้าเป็น Built-in จะเน้นความเรียบร้อยของงานติดตั้ง และงานเก็บสี

ทางทีมวิศวกรจะยกตัวอย่างจุดบกพร่อง จากรายละเอียดในการตรวจ พอสังเขป ให้ผู้อ่านได้พอเข้าใจ เพื่อนำไปใช้ในการตรวจ และลงข้อมูลด้วยตนเอง

 

ตัวอย่างจุด Defect หากต้องการจะตรวจรับบ้านด้วยตัวเอง และเลือกดาวน์โหลดไฟล์ การตรวจรับบ้าน pdf ไปใช้ในการตรวจได้เลย

ในครั้งนี้ทางทีมงานได้รับโอกาสให้เข้าตรวจบ้าน โครงการ Centro พหล วิภาวดี ซึ่งเป็นโครงการระดับกลาง มีชื่อเสียงในระดับ และก็ได้พบจุด Defect ที่เรียกได้ว่าเป็นแค่ Minor Defect (จุดบกพร่อง ที่ไม่กระทบต่อการอยู่อาศัย) โดยส่วนใหญ่จะเป็นงานเก็บรายละเอียดความเรียบร้อย ซึ่งเรายกตัวอย่างให้เห็นจุดเหล่านี้ เพื่อให้ท่านได้ทราบว่า เราต้องตรวจทุกจุดในรายละเอียด การตรวจรับบ้าน pdf  ตามที่เราได้ระบุไว้ด้านบนจริงๆ

1. น้ำขังร่องรางเลื่อนประตูรั้ว แก้ไขโดยการปรับระดับความชันของร่องรางเลื่อนใหม่ ต้องทำ เพราะถ้าไม่ได้ทำน้ำขังนานๆ จะทำให้เหล็กเพลากลมเกิดสนิม แล้วเสื่อมสภาพไว

 

2. โครงประตูรั้วเป็นสนิม รวมถึงข้ออต่อ และรอยเชื่อมจุดต่างๆ ก็เป็นสนิท แก้ไขโดยการ เชื่อมรอยต่อให้เต็มร่อง และเจียร์ผิวให้เรียน จากนั้นจึงทาสีกันสนิมทั้งโครงรั้ว ถ้าไม่ทำการแก้ไข เวลาอยู่อาศัยไปนานๆ เจอฝนเจอแดดบ่อยๆ จะทำให้โครงรั้วผุกร่อนไว้ เป็นคราบสนิม และ จะส่งผลให้หน้าบ้านไม่สวยงามไปตามๆกัน

 

3. ใต้บานประตูไม้ ไม่ได้ขัดโป้ว และทาสีทับ การแก้ไขต้องขัดโป้วทาสีใต้บานประตูไม้ เพราะถ้าไม่ทำ ในอนาคตบานประตูไม้จะบวมไว เพราะ ผิวใต้บานขรุขระ ไม่มีวัสดุและสีคอยป้องกันน้ำที่กระเด็นเข้าเนื้อไม้

ตรวจบ้าน