แบบฟอร์มตรวจรับบ้าน pantip สามารถดาวน์โหลดได้ที่ด้านล่างบทความนี้ เนื่องจากรายงานแบบฟอร์ม มักจะเป็นสิ่งที่ผู้ที่ต้องการ ตรวจบ้าน ทุกท่านสนใจมากที่สุด และได้เข้าไปค้นหาในเว็บไซต์ pantip ทางทีมงาน BCC Living Care Service เล็งเห็นถึงประโยชน์ของผู้อ่าน จึงได้ทำการรวบรวมรายละเอียดของการตรวจบ้าน มาให้ทุกท่านได้ดาวน์โหลด เพื่อเก็บไว้ใช้ตรวจบ้านด้วยตัวเอง หรือจะเป็นรายงานไว้สำหรับจ้างตรวจก็ได้
หากจะกล่าวถึง แบบฟอร์มตรวจรับบ้าน ก็สามารถหาโหลดได้ในอินเตอร์เน็ต วิศวกรแต่ละคนมักจะมีแนวทางในการออกแบบ และการตรวจต่างกัน ทางทีมวิศวกรเรามีประสบการณ์ในการตรวจมากกว่า 1,000 โครงการ จึงนำประสบการณ์เรานั้นมาออกแบบโครงสร้างของแบบฟอร์ม ให้ใช้งานง่าย รวมถึงการส่งต่อให้คนอื่น อ่านได้เข้าใจง่ายอีกด้วย
วิธีการลงข้อมูลในแบบฟอร์มตรวจรับบ้าน
โครงสร้างของแบบฟอร์มจากทีมงาน BCC Living Care Service จะมีทั้งหมด 3 เอกสารหลัก ประกอบไปด้วย
ข้อควรระวังในการลงข้อมูลในแบบฟอร์มตรวจบ้าน
ทุกท่านคงเคยเห็นคลิปที่มีการทะเลาะกัน ระหว่างโครงการ และผู้ซื้อ เราปฎิเสธไม่ได้เลยว่า เราเก็บหอมรอมริบเงินมาเพื่อซื้อบ้าน ที่เราจะต้องผ่อนไปอีกหลายสิบปี ก็ต้องการบ้านที่ดีที่สุด สวยที่สุด อย่างไรก็ตามทางผู้เขียน ขอแจ้งให้ทุกท่านทราบว่า การก่อสร้างทุกที่ จะต้องเกิดปัญหา Defect แน่นอน เพราะโดยปกติแล้วเวลาจะก่อสร้างบ้าน หรือตึก ที่เป็นโครงการ จะใช้ผู้รับเหมาหลายชุด และแต่ละคนก็มฝีไม้ลายมือที่ต่างกันไป
หากท่านจะลงข้อมูลทุกจุด ก็อาจจะเป็นประเด็นกับทางโครงการได้ ว่าท่านไม่ได้รู้หลักของงานก่อสร้างจริง ให้แก้ไขทุกจุดที่ไม่เป็นไปตามหลักการยอมรับได้ของงานสถาปัตยกรรม และงานวิศวกรรม ดังนั้น ท่านควรจะศึกษาให้ดีก่อน ถ้าจะลงข้อมูลเอง ยกตัวอย่างเช่น พื้นผิวของผนังก่อนติด Wallpaper ก็อาจจะมีสีที่ทาได้ไม่ทั่ว ไม่ละเอียด จุดนั้นทางเราก็จะไม่ลงเป็น Defect ในแบบฟอร์มตรวจบ้าน เพราะสุดท้ายก็ต้องติด Wallpaper ทับไปอยู่ดี
จากนี้จะเป็นตัวอย่างการลงข้อมูลใน แบบฟอร์มตรวจรับบ้าน pantip ที่ทางเราจะยกตัวอย่างประมาณ 2-3 จุด พร้อมระบุตำแหน่งที่ต้องลงให้กับผู้อ่าน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูกันเลย
จุดแรก : เริ่มตรวจตั้งแต่หน้าบ้าน ก็พบว่าโครงประตูรั้วเป็นสนิม รวมทั้งข้อต่อ และรอยเชื่อม ในหลายๆจุดเป็นสนิม ต้องเชื่อมรอยต่อทั้งหมดใหม่ให้เต็มร่อง แล้วค่อยเจียรแต่งผิวให้เรียบ จากนั้นจึงทาสีกันสนิมให้เต็มหน้าทั้งโครงรั้ว ถ้าไม่แก้ไข เวลาอยู่อาศัยไปนานเข้า ถ้าเจอฝนหรือแดดบ่อยๆ จะทำให้โครงรั้วผุกร่อนออกมา เป็นคราบสนิม แล้วจะส่งผลให้รั้วดูไม่สวยงาม
จุดที่สอง : ขอบพื้นลามิเนตไม่ได้ระดับ เดินแล้วพื้นยวบทั้งแนว การแก้ไขต้องตอกริมใต้บัวพื้น เพื่อกดพื้นไว้แล้วซิลิโคนให้เต็มร่อง ถ้าพื้นยวบมากต้องถอดพื้นแล้วปรับระดับพื้นปูนใหม่ ให้ได้ระดับ ถ้าไม่ทำการแก้ไข เวลาผู้อยู่อาศัยทำน้ำหกแล้วน้ำไหลไปตามขอบ พื้นไม้จะบวม หรือ เวลาเปิดเครื่องปรับอากาศทุกๆวันเป็นเวลานานๆ ก็อาจจะมีความชื้นเข้าพื้น อาจจะทำให้พื้นบวมได้อีกเช่นกัน
จุดที่สาม : ขอบกระเบื้องบิ่น ในจุดนี้บิ่นไม่มาก จึงสามารถเจียรแต่งขอบได้ แต่ถ้าบิ่นเยอะมากๆ อาจจะต้องเปลี่ยนใหม่ โดยก่อนเปลี่ยนอย่าลืมเทียบสีกระเบื้องให้ใกล้เคียงกัน ไม่งั้นอาจจะไม่สวยได้ จุดนี้ต้องแก้ไข เพราะเดินๆในบ้านอาจจะโดนบาดได้
บางจุดไม่จำเป็นต้องติ๊กใน เอกสาร:จุดบกพร่องที่สำคัญ อยู่ที่การพิจารณาของวิศวกร เพราะไม่ได้กระทบต่อการเข้าอยู่มากนัก หากท่านพร้อมแล้ว ก็สามารถดาวน์โหลด แบบฟอร์มตรวจ defect บ้าน ได้ที่ด้านล่างนี้เลยครับ และหากมีข้อสงสัยใดๆ สามารถแอดไลน์ @BCCSERVICE เข้ามาเพื่อสอบถามกับเราได้ตลอดเวลา เรายินดีตอบทุกข้อคำถามฟรีครับ 🙂