วิธีตรวจรับคอนโด คือ กระบวนการที่หลังจากผู้ซื้อ ตกลงค่ามัดจำจองห้อง ที่จะซื้อกับทางโครง ทางโครงการนั้นก็จะให้เราสามารถเข้าตรวจสภาพห้องชุดคอนโดได้ เงื่อนไขส่วนใหญ่ที่ โครงการจะให้ตรวจสอบ คือการออกรายการข้อบกพร่องต่างๆ (Defect ) ของวัสดุอุปกรณ์ภายในห้องเป็นรายงานครั้งแรก ได้ 1 ครั้ง แล้วหลังจากนั้นก็ให้เรามาตรวจสอบครั้งต่อๆไป โดยอ้างอิงจากรายงานที่ออกครั้งแรก จนกว่าทางโครงการจะแก้ไข Defect จบครบทุกรายการ แต่ว่าในกรณีที่คุณเจอจุดที่ต้องแก้ไขเพิ่มเติม จากที่แจ้งไว้ในรายงานฉบับแรก ที่ออกโดยผู้ตรวจ ทางโครงการอาจจะมองว่า เรากำลังยื้อเวลาที่จะยังไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ โดยส่วนใหญ่แล้ว โครงการจะสิ้นสุดการแก้ไข Defect เมื่อแก้ไขตามจุดที่ระบุไว้ในรายงานที่ออกครั้งแรกครบตามที่กำหนด และแจ้งว่าหลังจากนี้เราก็ต้องรับโอนห้องชุดแล้ว หากเจ้าของห้องชุดยังไม่รับโอนกรรมสิทธิ์ และทางโครงการมองว่า เรากำลังยื้อเวลา ขั้นตอนก็จะเริ่มยุ่งยาก หรืออาจถูกริบเงินดาวน์ก็เป็นได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทีมงาน BCC Living Care Service จะช่วยเป็นตัวกลาง ในการดูแลท่าน จนสามารถได้ห้องที่สมบูรณ์ และทำการโอนได้ ฉะนั้นแล้วเรามาเริ่มศึกษา วิธีตรวจรับคอนโด ด้วยตัวเอง อย่างละเอียดกันดีกว่าครับ
เริ่มด้วยการเตรียมอุปกรณ์ในการ ตรวจคอนโด มีดังนี้
1. กระดาษกาวย่น เอาไว้เขียนข้อความ Defect จุดนั้นๆคืออะไร
2. ปากกาสีเมจิก เอาไว้ใช้เขียนในกระดาษกาวย่น
3. ตลับเมตร เอาไว้วัดขนาดมุมห้องต่างๆไว้วางเครื่องใช้
4. ดินน้ำมัน เอาไว้ใช้เพื่ออุดท่อระบายน้ำ ไว้ขังน้ำ
5. ถังน้ำขนาดเล็ก เอาไว้เพื่อเทน้ำตรงระเบียง (เผื่อห้องไหนไม่มีก๊อกที่ระเบียง)
6. สติกเกอร์ เอาไว้เพื่อแปะจุด Defect ที่ต้องแก้ไข
7. คีมหนีบและไขควง เอาไว้เพื่อไขเปิดตู้เมนไฟฟ้าหรืออุปกรณ์ต่างๆภายในห้อง
8. ผ้าเช็ดเท้า เอาไว้เพื่อเวลาเราตรวจห้องน้ำหรือพื้นที่ที่เปียกน้ำ ต้องเช็ดเท้าให้แห้ง ไม่งั้นอาจจะทำให้พื้นไม้เปียกน้ำและบวมได้
9. ไฟฉาย เอาไว้ส่องในท่อระบายน้ำ ส่องดูขอบฝ้า
10. บันได 3 ขั้น เหมาะสำหรับคอนโดที่ฝ้าไม่สูง สำหรับปีนดูในช่อง Service ตรวจเช็คอุปกรณ์ที่อยู่สูง
11. ไม้เคาะกระเบื้อง เอาไว้เพื่อตรวจสอบว่ากระเบื้องนั้นปูปูนกาวเต็มแผ่นหรือไม่
12.ไขควงวัดไฟฟ้าหรือปากกาวัดไฟฟ้า เอาไว้เพื่อตรวจสอบบริเวณต่างๆที่มีอุปกรณ์ไฟฟ้า ว่ามีกระแสไฟรั่วไหลออกมาหรือไม่
13. ปลั๊กสามตาแบบมีปากคีบเอาไว้คีบสายไฟ เพื่อตรวจสอบการเดินสายไฟ L, N, G ถูกต้องหรือไม่ รายละเอียดอ่านได้ที่ เกร็ดความรู้ของเว็บไซต์ของเราได้เลยนะครับ
14. ปลั๊กเทสกันดูด เอาไว้ตรวจสอบการเดินสายไฟ L, N และ G ของเต้ารับแต่ละจุด ถ้าเต้ารับอันไหนต่อกับเบรคเกอร์ที่มีกันดูด ก็จะเอาไว้กดเทสเบรคเกอร์กันดูด ว่าเบรคเกรอ์ตัดหรือไม่
15. คลิปแอมป์หรือแคลมมิเตอร์ เอาไว้เพื่อเช็คแรงดันไฟฟ้าภายในตู้เมน วัดกระแสไฟฟ้า และเอาไว้ตรวจสอบการต่อสายไฟฟ้าว่าต่อถึงกันหรือไม่ ได้อีกด้วย
16. เทปดำพันสายไฟ เอาไว้พันสายไฟฟ้าหลังจากเราตรวจเช็คการเดินสายไฟฟ้าแล้ว
17. เครื่องวัดอุณหภูมิ เอาไว้ตรวจเช็คอุณหภูมิภายในตู้เมนต์ไฟฟ้า เครื่องปรับอากาศ เตาไฟฟ้า เครื่องทำน้ำอุ่น และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆที่มีความร้อน
18. กล้องถ่ายรูป นะครับ เอาไว้เพื่อถ่ายจุด Defect ต่างๆที่เราตรวจไปนั้นว่ามีจุดไหน และตำแหน่งอยู่ที่ห้องไหนอีกด้วย
รายการที่ 12-15 เป็นรายการสำหรับงานระบบไฟฟ้า แนะนำผู้ที่จะ ตรวจรับคอนโดเอง ควรจะมีความรู้ด้านระบบไฟฟ้าพื้นฐาน เพื่อความปลอดภัย
หลังจากที่เราเตรียมอุปกรณ์กันเสร็จเรียบร้อย มาถึง วิธีตรวจรับคอนโด และ ขั้นตอนคร่าวๆว่าภายในห้องชุด 1 ห้อง จะมีงานระบบอะไรบ้างภายในห้อง
1. ตรวจงานบานประตู ตรวจเช็คลูกบิด เปิดปิดได้ปกติ ติดตั้งแน่น แนบกับบานหรือไม่ ตรวจสอบบานพับ ติดไม่เอียง แน่น เป็นคราบสนิมหรือไม่ เปิดปิดบานประตูต้องไม่เบียดเฟรมประตู และตรวจความเรียบร้อยของบานประตู
2. ตรวจงานหน้าต่าง ตรวจเช็คความเรียบร้อย ยางรอบเฟรม ซับเฟรม บานกระจก ซิลิโคนรอบเฟรม ให้เรียบร้อย
3. ตรวจงานพื้นไม้ ตรวจสอบระดับพื้นว่าได้ระดับหรือไม่ รอยต่อพื้นไม้ ขอบพื้นรอบห้อง และความเรียบร้อยของพื้นไม่เป็นรอย ไม่แตกหัก
4. ตรวจงานฝ้าเพดาน ตรวจสอบว่าโครงฝ้าติดตั้งแน่น แข็งแรง รอยต่อแผ่นฝ้า ขอบฝ้ารอบห้อง ผิวฝ้าเรียบเนียน เก็บงานทาสีเรียบร้อยดี
5. ตรวจงานผนังห้อง ตรวจสอบดูว่าเป็นผนังชนิดไหน วัสดุอะไร เบื้องต้นตรวจสอบด้วยการเคาะดู แน่นแข็งแรงดีหรือไม่ ผิวผนังฉาบเรียบเนียน และ เก็บงานทาสีเรียบร้อย
6. ตรวจงานห้องน้ำ ตรวจสอบท่อต่างๆไม่รั่วซึม เช็คกระเบื้องพื้น ความลาดเอียง รูระบายน้ำ สุขภัณฑ์ต่างๆและยาแนว
7. ตรวจงานเฟอร์นิเจอร์ ต้องเป็นไปตามสเป็คที่โครงการระบุไว้ แข็งแรง ไม่มีตำหนิ
8. ตรวจงานห้องครัว ระบบน้ำดีและน้ำทิ้งของซิงค์ล้างจาน งานเคาน์เตอร์ เครื่องดูดควัน และ เตาไฟฟ้า
9. ตรวจงานระบบไฟฟ้า ตรวจสอบสวิตซ์ทุกจุด เต้ารับทุกจุด สายเครื่องทำน้ำอุ่นหรือน้ำร้อน การเดินสายดิน ตรวจสอบตู้เมนต์ไฟฟ้า และ ระบบเครื่องปรับอากาศ
10. ตรวจงานบันได ถ้าห้องไหนเป็นแบบ 2 ชั้น ต้องเช็คระยะของลูกตั้ง ลูกนอน ติดตั้งแน่นไหม การเก็บงานรอยต่อ และ ราวบันได
รายละเอียดการตรวจงานระบบต่างๆข้างต้น เป็นแบบเบื้องต้นโดยสังเขป ถ้าคุณลุกค้าสนใจข้อมูลอย่างละเอียด สามารถอ่านได้ในเว็บไซต์ของเรา ในส่วนของเกร็ดความรู้ ที่เราจะนำมาลงให้อ่านเรื่อยๆครับ