วันที่ 26 เมษายน 2567 3:06 PM
bcclivingcareservice.com
วันที่ 26 เมษายน 2567 3:06 PM

ดาวน์โหลด เช็คลิสต์ตรวจรับบ้าน เก็บไว้ใช้ตอนตรวจบ้าน พร้อมขั้นตอนและวิธีการลงข้อมูลอย่างละเอียด จากทีมวิศวกร BCC Living Care Service

เช็คลิสต์ตรวจรับบ้าน ไฟล์ที่ผู้ซื้อบ้านทุกท่านควรต้องมีติดตัวไว้ เพราะไม่ว่าคุณจะจ้างตรวจ หรือว่าจะตรวจเอง ก็ควรที่จะต้องมีข้อมูลและรายละเอียดในการตรวจที่ครบถ้วน เพื่อที่จะได้ไม่โดนผู้รับจ้างตรวจหลอก หรือถ้าตรวจด้วยตัวเอง ก็จะทราบวิธีการเก็บข้อมูล รวมไปถึงการลงข้อมูล เพื่อแจ้งโครงการให้แก้ไขได้อย่างถูกต้อง

ทีมวิศวกร BCC Living Care Service มีประสบการณ์ในการ ตรวจบ้าน มามากกว่า 1,000 โครงการ และได้พัฒนา แบบฟอร์มตรวจรับบ้าน มาตลอด จนได้แบบฟอร์มที่สมบูรณ์ ทั้งด้านการใช้งานลงข้อมูลจุดบกพร่อง และการสื่อสาร ส่งข้อมูลเหล่านี้ไปให้กับโครงการ เพราะทางโครงการบ้าน จะแก้ไขงานจาก Check List ที่คุณได้ลงข้อมูลลงไป

อันที่จริงแล้ว ในการตรวจไม่จำเป็นต้องมีแบบฟอร์มที่เป็นรูปแบบแน่นอน ถ้าผู้ตรวจสามารถเลือกใช้ได้ตามสะดวก แต่ในบทความนี้ เราจะลงแบบฟอร์มที่ทางวิศวกรทีมงานเรา ใช้แล้วได้ผลสัมฤทธิ์ที่ดีที่สุด ถ้าพร้อมแล้ว ก็ลองไปดูได้เลยครับ

ขั้นตอนและวิธีการลงข้อมูลใน เช็คลิสต์ตรวจรับบ้าน อย่างละเอียดทุกจุด

ผู้ตรวจต้องเริ่มจากเข้าใจก่อนว่าต้องตรวจอะไรบ้าง โดยเบื้องต้นท่านสามารถดาวน์โหลด เช็คลิสต์ตรวจรับบ้าน ได้จากด้านล่างบทความนี้ และทางเราจะขอลงรูปจุดตรวจทั้งหมดของบ้านให้ท่านได้รู้ก่อน ดังภาพที่แสดงต่อไปนี้

 

ภาพรายละเอียดการตรวจบ้าน อย่างละเอียด โดยวิศวกรมีใบประกอบวิชาชีพ

 

เมื่อคุณได้ดาวน์โหลดไฟล์ไปแล้ว ก็ต้องตรวจตามหมวดที่เราได้ระบุไว้ให้ดังนี้

 

1. ภาพและรายละเอียดจุดบกพร่อง

จุดนี้จะเป็นจุดที่สำคัญที่สุด เพราะทางโครงการจะไล่แก้จุดบกพร่องจาก ภาพและรายละเอียดรายการ โดยไล่ไปทุกจุดภายในบ้าน ที่ทางผู้ตรวจได้ถ่ายรูปไว้ ดังนั้นต้องลำดับการถ่ายรูปดีๆ ไม่ให้ตกหล่น

 

2. งานโครงสร้างและสถาปัตยกรรม

ให้ลงข้อมูลจุดบกพร่องของงานโครงสร้าง และสถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น เก็บสีไม่เรียบ พื้นและฝ้าไม่เรียบร้อย อุปกรณ์ติดตั้งไม่ดี กรอบหน้าต่างไม่ดี และซิลิโคนยิงไม่เต็ม หน้าต่างเปิดยาก บานประตูล็อคไม่ได้ อุปกรณ์ห้องน้ำติดตั้งไม่ดี และจุดอื่นๆ ที่เราได้ระบุให้ในแบบฟอร์ม เพื่อเป็นหลักฐานไว้ ในการตรวจรอบสอง ทางวิศวกรจะได้ไล่ตามจุดเหล่านี้ได้

 

3. งานระบบสุขาภิบาล (ระบบน้ำ)

จุดนี้ถ้าปั๊มน้ำเปิดแล้ว ให้ทดสอบแรงดันน้ำ ดูว่าแรงพอมั้ย โดยการเปิดก๊อกน้ำดีทุกจุด ภายในบ้านและรอบนอกตัวบ้าน ซึ่งจุดนที่เป็นน้ำดีมักจะไม่เป็นปัญหาเท่าไร จุดที่มักเกิดปัญหาคือ คือระบบน้ำทิ้ง เพราะจะมีเรื่องของความชันมาเกี่ยวข้อง ถ้าไล่ความชันได้ไม่ถูกต้อง จะทำให้น้ำขัง และมีกลิ่น หรือก่อให้เกิดเป็นที่อยู่ของสัตว์ต่างๆ ดังนั้นต้องตรวจตั้งแต่การไล่ระดับความชันพื้น ให้น้ำทิ้งสามารถไหลได้หมด ไม่ขังตามจุดต่างๆ

หลังจากตรวจระบบน้ำทิ้งภายในบ้านเสร็จแล้ว ต้องไปตรวจรอบตัวบ้าน ไม่ว่าจะเป็น บ่อพัก บ่อไขมัน หรือบ่อบำบัด โดยก่อนหน้านั้น อย่าลืมใช้ขนมปังแผ่นกดชักโครงทุกชักโครก ภายในบ้าน เพื่อมาตรวจสอบในบ่อพักว่า การไหลของท่อน้ำทิ้งชักโครงเป็นไปได้ราบรื่นหรือไม่ ปกติแล้วเราจะทดสอบในแต่ละชักโครกให้ตัดขนมปังต่างรูปแบบกัน เช่น ห้องนี้สามเหลี่ยม ห้องนี้สี่เหลี่ยม ถ้าขนมปังรูปเรขาคณิตไหนไม่มา แสดงว่าการเดินท่อของห้องนั้นมีปัญหา

 

4. ระบบไฟฟ้า

ระบบนี้ท่านต้องมีอุปกรณ์ให้เพียงพอ เพราะเป็นจุดที่อันตราย โดยต้องทดสอบตั้งเต้ารับ สวิทช์ ปลั๊ก ระบบแสงสว่าง รวมไปถึง เครื่องทำน้ำอุ่นภายในห้องน้ำทุกห้อง และจุดที่สำคัญที่สุดคือ ตู้เมนไฟฟ้า ที่ต้องมีเบรคเกอร์ และขนาดสายไฟ้ที่เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายต่อการใช้งาน ของผู้อยู่อาศัยในอนาคต สุดท้ายคือ ระบบปรับอากาศและระบายอากาศ หรือระบบกริ่ง (ถ้ามี) หากเป็นโครงการระดับบนๆ ก็จะมีระบบรักษาความปลอดภัย เช่น กล้องวงจรปิด ระบบกันขโมย ระบบดูดความภายในห้องครัว ซึ่งถ้าจ้างทางเรา เราจะตรวจแค่ความเรียบร้อยในการติดตั้ง แต่ถ้าหากเป็นปัญหาด้านการใช้งาน จะต้องเรียกเจ้าของระบบมาช่วยดู เนื่องจากเป็นระบบที่มีความซับซ้อนสูง

 

ข้อมูลที่ทางเราได้เขียนให้กับผู้สนใจอ่านทุกท่าน เป็นแค่ข้อมูลคร่าวๆเท่านั้น หากท่านสนใจรายละเอียดจริงๆ สามารถแอดไลน์ @BCCSERVICE (มี @ ด้วย) เข้ามาหาเราได้ ทางวิศวกรทีมงานเราจะคอยตอบคำถามให้ทุกท่าน ไม่ต้องกังวลใจว่าจะจ้างทีมงานเรา หรือไม่จ้างก็ตาม ทางทีมงานยินดีที่จะแบ่งปันข้อมูล และให้คำแนะนำ จนท่านสามารถรับโอนบ้านได้

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มตรวจบ้าน PDF ได้ที่นี่

ตรวจบ้าน