checklist แบบฟอร์มตรวจรับบ้าน excel เป็นเหมือนคัมภีร์ที่คุณควรจะต้องมีไว้ ถ้าคุณมีแผนที่จะซื้อบ้าน เพราะไม่ว่าคุณจะจ้างตรวจ คุณก็ต้องมีความรู้ที่เพียงพอ จะไม่ได้โดนผู้รับจ้างหลอก สุดท้ายแล้วก็จะเป็นปัญหาในอนาคตของบ้านคุณเอง หรือคุณจะตรวจเอง เช็คลิสต์อันนี้ ก็จะทำให้คุณสามารถตรวจบ้านด้วยตัวเองได้ ถ้าคุณมีอุปกรณ์และความรู้เบื้องต้น (ในบทความนี้) ที่เพียงพอ
ก่อนอื่นเลย ทางทีมงานเคยได้เขียนบทความเกี่ยวกับ checklist ตรวจรับบ้าน pdf ไว้แล้ว (คลิกได้) และได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้อ่านทุกท่าน มีคนแอดไลน์มาสอบถามรายละเอียด และวิธีการตรวจพอสมควร หากผู้อ่านท่านใดที่อ่านบทความนี้ แล้วสงสัย หรือมีข้อมูลที่อยากทราบเพิ่มเติม ก็แอดไลน์มาได้เลยที่ @BCCSERVICE (มี @ ด้วย) ทางเราให้คำปรึกษาฟรี ไม่คิดค่าใช้จ่าย ไม่จำเป็นต้องตรวจกับเราก็ได้
ในบทความนี้ทางเราจะไม่ลงรายละเอียดที่ได้ลงไปในบทความก่อนหน้า ที่จะเป็นรายละเอียดในการลงข้อมูลเบื้องต้นใน แบบฟอร์ม ตรวจรับบ้านก่อนโอน แต่ทางเราจะลงลึกในเนื้อหา หน้าที่ 2 คือเรื่องของการลงภาพ และรายละเอียดในการตรวจจุดบกพร่อง พร้อมทั้งวิธีการแก้ไข ทางทีมวิศวกรเรามีความเอาใจใส่ ในจุดบกพร่องทุกจุด จะใส่วิธีการแก้ไขที่ถูกหลัก พร้อมลงภาพบริเวณนั้น เนื่องจากเป็นเนื้อหาที่ทางโครงการจะนำไปดู และแก้ไขตามจุดที่เราได้แจ้งไว้
checklist แบบฟอร์มตรวจรับบ้าน excel จะเป็นตัวที่คอยเป็นไกด์ให้เรา ว่าเราตรวจได้ครบถ้วน ละเอียดหรือไม่ ดังนั้น ในการตรวจบ้านสักหลังต้องวางแผนให้ดี ว่าจะเริ่มจากตรงไหนก่อน ทางเราจะ Guide หลัก 5 ข้อให้ เพื่อที่จะได้นำไปใช้ในการตรวจบ้านเอง
1. เริ่มต้น คุณควรจะต้องมีทีมงานสัก 2-3 คนในการเข้าตรวจ โดยทีมงานคนแรก จะเข้าไปดูเรื่องการรั่วซึมจากการขังน้ำก่อน เนื่องจากต้องใช้เวลาขังอย่างน้อย 10-15 นาที ก็ควรจะเปิดน้ำขังทุกห้องน้ำ ทั้งโซนเปียก และโซนแห้ง รวมไปถึงระเบียงทุกจุด ปัญหาเรื่องน้ำรั่วซึม แก้ไขได้ยากมากๆ ถ้าคุณโอนบ้านและเข้าอยู่มาสักระยะแล้ว
2. ทีมงานคนที่สองให้ไล่ตรวจจากหน้าบ้าน ภายนอกบ้านก่อน ไม่ว่าจะเป็น รั้วบ้าน ถนน ลานจอดรถ พื้นหญ้า กำแพง ผนัง บ่อพัก บ่อบำบัด และอื่นๆที่อยู่รอบตัวบ้าน
3. หลังจากผ่านการขังน้ำและตรวจหน้าบ้านไปแล้ว ให้คนตรวจ ไล่ตรวจจากในไปนอก โดยแบ่งพื้นที่ทั้งสองชั้น เพราะว่าจะลดแรงในการเดินขึ้นลงได้พอสมควร การตรวจจากในไปนอก จะเริ่มจากห้องน้ำภายในห้อง แล้วตรวจห้อง จากนั้นจึงมาพื้นที่ส่วนกลาง ที่ต้องตรวจแบบนี้ เพราะเราจะได้ไม่เดินผ่านไปมา แล้วสงสัยกับตัวเองว่า เราตรวจจุดนี้ไปแล้วหรือยัง
4. ถ่ายภาพให้ครบทุกจุด ที่เจอ Defect จากนั้นเวลาลงข้อมูล เราก็จะแบ่งกันช่วยกันลงข้อมูลได้ ตัวอย่างเช่น ทีมตรวจคนแรก ตรวจหน้าบ้าน รอบบ้าน และชั้น 1 ทีมตรวจคนที่สองตรวจระเบียง ตรวจการรั่วซึม และชั้นสองรวมถึงหลังคา คราวนี้เวลารวมข้อมูล มันก็จะไล่ไปเป็นพื้นที่ วิศวกรโครงการก็จะไม่งง เวลาไล่อ่านรายงาน เพราะไม่ได้ข้ามจุดตรวจไปมา
นอกจากการลงข้อมูลให้ครบถ้วนแล้ว ทางผู้อ่านควรจะต้องศึกษา และพอจะมีความรู้ในจุดบกพร่องที่ต้องแก้ไขบ้าง หากอยากดูตัวอย่างเต็มๆ (กว่า 100-200 จุด) ก็สามารถแอดไลน์มาขอไฟล์ แบบฟอร์มตรวจ defect ไปดูได้ ทางเรายินดีที่จะส่งให้เป็นตัวอย่าง ให้กับผู้ที่สนใจ เพื่อเป็นข้อมูลให้ท่านได้ศึกษาก่อน ถ้าพร้อมแล้วก็ไปดูจุด Defect ได้เลย
1. บ่อดักไขมันบุบ และ มีตำหนิจุดรั่วซึม ในจุดนี้ ถ้าจุดรั่วซึมไม่ใหญ่มาก การแก้ไขอาจจะแค่ตีบ่อและเชื่อมร้อน เพื่อซ่อมรอยรั่วได้ แต่ถ้ารูรั่วใหญ่มาก ก็ควรเปลี่ยนบ่อใหม่ไปเลย จุดนี้สำคัญมาก เพราะต้องตัดสินใจว่าจะเปลี่ยน หรือจะแก้ไข เพราะถ้าไม่ทำการแก้ไข ดินจะดันบ่อตำแหน่งที่บุบไปเรื่อยๆ จะส่งผลกระทบให้เกิดการรั่วซึมที่มากขึ้น และ เศษทรายก็จะเข้าภายในบ่อได้ ทำให้บ่ออาจจะตันได้อีกด้วย
2. เศษปูน เศษขยะค้างก้นบ่อและในท่อระบายน้ำ จุดนี้พบในบ่อย ต้องไม่ละเลยในการตรวจ เพราะบ่อและท่ออาจจะตันได้ ยังจะส่งกลิ่นเหม็นและเอ่อล้นได้อีกด้วย การแก้ไขต้องลอกท่อใหม่และเก็บเศษต่างในบ่อออกให้หมด
3. ผิวฉาบผนังภายนอกแตกร้าว เป็นอีกอาการที่อยู่อาศัยมักเจอบ่อยๆ หลังจากอยู่อาศัยไปนาน ควรกรีดร่องที่แตกร้าวแล้วโป้วด้วยวัสดุผสาน ขัดทำสีใหม่ ถ้าไม่ทำการแก้ไข ผิวผนังฉาบอาจจะค่อยแตกร้าวมากขึ้น จนอาจจะร่อนหลุดออกมาได้ ถ้าหลุดร่อนก็อาจจะส่งผลกระทบต่อการอยู่อาศัยในระยะยาวได้