การตรวจรับบ้าน คือ การที่ผู้ซื้อบ้าน มาตรวจสภาพภายในบ้าน ก่อนที่จะโอนกรรมสิทธิ์จากเจ้าของโครงการมา โดยปกติแล้วทุกโครงการ จะอนุญาตให้มีการตรวจบ้านก่อนที่จะทำการโอนได้ เพื่อที่ทางโครงการจะได้แก้ไขจุดบกพร่อง ตามที่ผู้ซื้อบ้านได้ระบุไว้ ดังนั้นผู้ที่ซื้อบ้านส่วนใหญ่แล้ว ก็จะตรวจบ้านก่อนที่โอนเสมอ โดยอาจจะตรวจเอง ถ้ามีอุปกรณ์ และความเข้าใจในหลักการก่อสร้าง และงานระบบมากพอ หรืออาจจะจ้างตรวจจากผู้รับตรวจที่มีประสบการณ์ เพื่อให้ตรวจได้อย่างครอบคลุมทุกจุด
หลักๆแล้ว ในการตรวจบ้าน จะมีความซับซ้อนมากกว่าการตรวจคอนโด ตรวจทาวน์โฮม หรือตรวจทาวน์เฮาส์ เพราะด้วยฟังก์ชั่นของบ้าน ที่จะมีส่วนประกอบมากกว่า ไม่ว่าจะเป็นหน้ารั้วบ้าน รั้วบ้าน กำแพงบ้าน พื้นที่รอบตัวบ้าน ระบบระบายน้ำทิ้ง ปั๊มน้ำ ถังเก็บน้ำ พื้นที่ใต้หลังคา และพื้นที่ภายในบ้าน ที่จะต้องใช้เวลาในการตรวจมากกว่า เนื่องจากมีจุดที่ต้องระวังเยอะ จากที่ได้กล่าวจากบทความก่อนหน้า ถึงจุดบกพร่องที่คนมักจะไม่ระวัง ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่หน้าบ้าน Slope ไม่พอ ทำให้น้ำขัง หรือถังเก็บน้ำ มีสิ่งสกปรกค้างอยู่
ทางทีมวิศวกร BCC Living Care Service จะขอยกตัวอย่างในการตรวจ เป็นโครงการ ฟอร์เร่ ปิ่นเกล้า – พุทธมณฑล สาย 5 โดยปริญสิริ เป็นโครงการทาวน์โฮมเปิดใหม่ โครงการใหญ่ที่มีถึง 454 ยูนิต พร้อมความร่มรื่นตามสไตล์ ปริญสิริ พร้อมกับพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่รวมกว่า 2 ไร่ เป็นโครงการที่มีการก่อสร้างได้ดี แต่อย่างไรก็ตาม ในการก่อสร้างยังไงก็ต้องมีจุดบกพร่องอยู่อย่างแน่นอน ทางทีมวิศวกรขอยกตัวอย่างบางจุดที่ไปตรวจบ้าน ขึ้นมา
1. ปัญหาที่พบเจอได้บ่อยของการก่อสร้างโครงการคือ พื้นยวบ และ ตัวจบติดตั้งไม่แน่น ที่บริเวณหน้าห้องน้ำ การแก้ไขต้องรื้อแล้วปรับระดับพื้นปูนใหม่ให้เรียบ โดยต้องทำให้ได้ระดับพอดี และ ติดตั้งตัวจบใหม่ให้แน่น หากไม่แก้ไข ในระยะยาวน้ำและความชื้น จะเข้าไป แล้วทำให้พื้นบวมมากขึ้น
2. ผิวผนังฉาบแตกร้าว เป็นอีกอาการที่พอเจอบ่อยมากเวลาปิดห้องไว้นาน ต้องกรีดเซาะร่องออกมา หลังจากค่อยโป้ววัสดุผสานให้เต็มร่องที่เซาะ แล้วจึงขัดทำสีให้เรียบ หากไม่ทำการแก้ไข ถ้าอยู่ไปนานๆจะ รอยร้าวจะยิ่งแตกร้าวมากขึ้น และผิวสีอาจจะหลุดร่อนออกมาได้ ทำให้เกิดเป็นฝุ่นและสกปรกได้
3. น้ำซึมรอบคอท่อน้ำทิ้งใต้อ่างล้างหน้า ต้องเช็คและตั้งระยะ P-Trap ให้ตรงกับท่อน้ำทิ้งที่ฝังในผนัง ส่วนใหญ่ที่เกิดปัญหานี้ มันมักจะไม่ตรงกัน และ ต้องซีลซิลิโคนกันน้ำรอบคอท่อน้ำให้เต็มร่อง จุดนี้ต้องแก้ไข เพราะไม่งั้น น้ำจะซึม ถ้าซึมนานๆ คอ P-Trap จะเป็นคราบสนิม ผนังบริเวณนั้นจะเป็นคราบสกปรก และอาจจะเกิดปัญหาอื่นๆตามมาในอนาคตได้
หลังจากที่เรามีการตรวจรับบ้านแล้ว เราจะต้องทำตามขั้นตอนดังนี้
– ตรวจบ้านรอบที่ 1 : เพื่อหาจุดบกพร่องต่างๆ และทำรายงานสรุปจุดบกพร่อง
– ส่งรายงานจุดบกพร่องรอบที่ 1 : เพื่อเป็นข้อมูลให้กับเจ้าหน้าที่ประจำโครงการ และเตรียมแก้ไขงานให้กับผู้ซื้อ
– แก้ไขงานรอบที่ 1 : ทางทีมวิศวกรโครงการ จะยึดการแก้ไขจากในรายงานเท่านั้น ดังนั้นรายงานการตรวจ ควรจะทำให้ละเอียด เพื่อให้วิศวกรของโครงการ แก้ไขได้ครบถ้วนทุกจุด
– ตรวจบ้านรอบที่ 2 : เพื่อตรวจสอบความเรียบร้อยของการแก้ไขงานรอบแรก และตรวจจุดบกพร่องใหญ่ที่มีปัญหา เช่นระบบไฟฟ้า ระบบระบายน้ำ เพราะเป็นงานระบบที่สำคัญต่อการเข้าอยู่
– ส่งรายงานจุดบกพร่องที่เหลือ : เพื่อให้ทางทีมวิศวกรโครงการ รับทราบถึงความเรียบร้อยในการแก้ไข และจุดที่ยังแก้ไขไม่เรียบร้อย
– แก้ไขงานรอบที่ 2 : โดยปกติโครงการส่วนใหญ่ จะแก้ไขงานให้แค่สองรอบ และจะบังคับให้โอนกรรมสิทธิ์เลย แต่จากประสบการณ์ ถ้าปัญหาเป็นปัญหาหลักที่ส่งผลกระทบต่อการเข้าอยู่ ทางโครงการจะต้องแก้ไขให้จนกว่าจะแล้วเสร็จ
– โอนกรรมสิทธิ์บ้าน : หลังจากทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ลูกค้าจึงทำการโอนกรรมสิทธิ์บ้านได้
ทีมงานวิศวกร BCC Living Care Service มีความยินดีที่จะนำเสนอ การตรวจรับบ้าน ทั้งรอบแรก และรอบที่สอง อย่างละเอียด โดยให้ความมั่นใจกับลูกค้า จากผลงานการตรวจมากกว่า 1,000 โครงการ และเป็นตัวแทนในการคุยกับโครงการ เรื่องการแก้ไขงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และได้บ้านที่สมบูรณ์มากที่สุด แอดไลน์มาปรึกษาและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้เลยที่ @BCCSERVICE (มี @ ด้วย) แล้วพบกันนะครับ