ตรวจบ้านเจ้าไหนดี คำถามที่คนซื้อบ้านหลายคน ต้องการคำตอบ เพราะปัจจุบันมีผู้ให้บริการจำนวนมาก ซึ่งผู้ให้บริการตรวจบ้าน ในแต่ละราย ก็จะมีจุดเด่น และค่าใช้บริการที่ต่างกันไป ในบทความนี้ เราจะพูดถึง วิธีการเลือก ผู้ที่จะมาตรวจบ้านให้เรา ว่าจะต้องดูอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ที่ต้องการจ้าง เข้าใจหลักการตรวจ ว่าในการตรวจแต่ละครั้ง ผู้ให้บริการควรจะต้องทำอะไรให้เราบ้าง และต้องมีเครื่องมืออะไรมาใช้ในการจัดการตรวจบ้าน
ในการตรวจแล้วละครั้ง ลูกค้าทุกท่านต่างอยาให้บ้านออกมาสมบูรณ์แบบที่สุด จนมีคำถามที่ค้างคาในใจว่า จะตรวจทั้งที ตรวจบ้านเจ้าไหนดี ที่จะทำให้การตรวจออกมามีประสิทธิภาพ และสามารถแก้ไขตรงจุดมากที่สุด
1. เริ่มต้นก่อนเลย ควรดูความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ หรือความน่าเชื่อถือของออนไลน์แพล็ตฟอร์มต่างๆ ที่ทางผู้ให้บริการลงไว้ ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงาม และความดูดีของ เว็บไซต์ หรือว่าจะเป็นคนกดไลก์ คน Follow ต่างๆ ว่ามีจำนวนมากพอ และมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการลงภาพที่ทาง ผู้ให้บริการได้ไปตรวจมา หรือลงเนื้อหาต่างๆ ที่อัพเดททันสมัยตลอดเวลา
2. การติดต่อได้ง่ายกับผู้ให้บริการ ผ่านทุกช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นไลน์ เฟสบุ้ค หรือว่าโทรศัพท์ เพราะว่าในการตรวจแต่ละครั้ง คนที่ซื้อบ้าน ซื้อคอนโด ก็ต้องการที่จะสอบถามรายละเอียดในการตรวจ รวมถึงข้อมูลต่างๆ และค่าใช้จ่ายในการตรวจแต่ละครั้ง
3. เครื่องมือและอุปกรณ์ในการตรวจ ต้องได้มาตรฐานตามวิศวกรรม หลายๆท่านอาจจะสงสัยว่า แล้วจะรู้เครื่องมือในการตรวจ ของผู้ให้บริการได้อย่างไร คำตอบก็คือ เราต้องดูจากภาพรวมในเว็บไซต์ หรือเฟสบุ้ค ของผู้ให้บริการ และทางที่ดีควรจะสอบถามโดยตรง เพื่อที่จะได้ทราบรายการเครื่องมือของทางผู้ตรวจ
4. วิธีการตรวจ และจุดที่ตรวจ ควรจะต้องรู้ว่า ผู้ให้บริการรายนั้น เคยตรวจบ้านมาบ้านมานานขนาดไหน แล้วเราก็จะได้รู้ว่าการตรวจเหล่านั้น ครบถ้วนบ้านทั้งหลังหรือไม่ เพื่อที่อย่างน้อย ค่าใช้บริการที่เราจ่ายไป จะได้ไม่เสียดายมากนัก
ตัวอย่างในการเลือกผู้ให้บริการ จากหัวข้อข้างต้นที่ทางผู้เขียนได้กล่าวไป จะขออธิบายให้เป็นภาพคร่าวๆ โดยยกตัวอย่างให้แค่บางจุด ทุกคนจะได้รู้ว่า ตรวจบ้านเจ้าไหนดี
การตรวจสอบการเข้าสายไฟ L , N , G และขนาดของสายไฟแต่ละเบรคเกอร์ ในตู้โหลดเซ็นเตอร์ และ ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าแต่ละจุด เพราะจุดนี้เป็นจุดที่ไฟเข้ามา และเป็นจุดที่สำคัญที่สุดของระบบไฟฟ้าในบ้าน
ตรวจสอบการเดินสายไฟ L , N , G และ ขนาดสายไฟของเครื่องทำน้ำอุ่น และตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า เพราะว่าเป็นจุดที่อันตราย และส่วนใหญ่มักจะเกิดไฟฟ้าช็อตจากบริเวณนี้
ตรวจสอบการเดินสายไฟ L,N,G และ ขนาดสายไฟของเต้ารับทุกจุด รวมถึงการตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า และการตัดไฟจากเบรคเกอร์ เพราะในกรณีที่ไฟช็อต จะได้มั่นใจได้ว่า ระบบปลั๊กของเราพร้อมสมบูรณ์แบบทันที
ตรวจสอบบริเวณระเบียง การระบายน้ำ ว่าการสร้างระเบียงมีความลาดชันพอ ที่จะให้น้ำที่ขังไหลลงท่อระบายน้ำพอหรือไม่ เพราะถ้าไม่ชันพอ น้ำจะขัง และเป็นแหล่งเชื้อโรค หรือแหล่งอาศัยของสัตว์หรือแมลงได้ รวมถึงก่อให้เกิดความสกปรกและคราบบริเวณระเบียง
จากทั้งหมดที่ได้กล่าวไปนั้น ผู้ให้บริการตรวจบ้านก็จะมีเยอะเต็มท้องตลาดไปหมด ไม่ว่าจะเป็น Blue Home ที่เป็นเจ้าใหญ่ และเจ้าดั้งเดิมในการตรวจบ้าน หรือว่าจะเป็น Home Inspector ที่เป็นเจ้าชื่อดังในเฟสบุ้ค และยังมีเจ้าอื่นๆที่การันตี ด้วยผลงาน และคุณภาพ ในการตรวจบ้าน ไม่ว่าจะเป็น Thai Good House, Be Home, Fill Up-Home, ต.ตรวจบ้าน และแบรนด์อื่นๆอีกมากมาย ทางเราไม่ได้มีแนวทางในการโฆษณาและบอกว่าเจ้าไหนดีหรือไม่ดี ทั้งนี้ต้องอยู่ที่วิจารณญาณ ของผู้ว่าจ้างทุกท่านเอง จากผลงาน วิธีการตรวจ อุปกรณ์และเครื่องมือ รวมถึงความน่าเชื่อถือ ว่าจะเลือกตรวจบ้านเจ้าไหนดี และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย